วิธีการเสนอหัวข้อปัญหาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ได้!
สำหรับ
ผู้กำหนดนโยบาย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์
นักวิชาการด้านสาธารณสุข
อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
นวัตกรรมทางการแพทย์
คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง (สปสช.)
สามารถเสนอหัวข้อปัญหาได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด
สำหรับ
ตัวแทนจากกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย
ประชาสังคม
ประชาชนทั่วไป

สามารถเสนอหัวข้อปัญหาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพตามช่วงเวลาของการประชุมรับฟังความคิดเห็นประจำปีจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำเขตทั้ง 13 เขต หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแต่ละเขตกำหนด

FAQ เสนอหัวข้อแบบไหนถึงจะถูกคัดเลือก หรือถูกคัดออก

  • หัวข้อด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  • หัวข้อด้านการวินิจฉัย รักษา ฟื้นฟู
  • หัวข้อเพื่อประเมินประสิทธิผลของความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ (effective coverage) หรือการเข้าถึงบริการ (access to care)
  1. จำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคหรือปัญหาสุขภาพ (Size of population affected by disease or health problem)
  2. ความรุนแรงของโรคหรือปัญหาสุขภาพ (Severity of disease or health problem)
  3. ประสิทธิผลของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Effectiveness of health technology)
  4. ความแตกต่างในทางปฏิบัติ (Variation in practice)
  5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจของครัวเรือน (Economic impact on household expenditure)
  6. ความเป็นธรรมและประเด็นทางสังคมและจริยธรรม (Equity/ ethical and social implication)
หมายเหตุ : เกณฑ์คัดเลือกหัวข้อบริการ/เทคโนโลยีสำหรับโรคหายาก ใช้เกณฑ์ 4 ข้อ คือ ข้อ 2 - ข้อ 5 เท่านั้น เนื่องจากผู้ป่วย หรือผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนน้อย และเป็นโรคที่เกิดได้กับทุกกลุ่มทางสังคม
  1. หัวข้อระบุคู่เปรียบเทียบระหว่างบริการ/เทคโนโลยีที่เสนอ กับบริการ/เทคโนโลยีเดิมที่เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพฯ อยู่แล้วอย่างชัดเจน หรือ
  2. เปรียบเทียบบริการ/เทคโนโลยีที่เสนอ กับการไม่เคยมีบริการ/เทคโนโลยีนั้น โดยให้มีการระบุชื่อบริการ/เทคโนโลยีคู่เทียบให้ชัดเจน
  1. เป็นข้อเสนอเรื่อง ยา หรือ วัคซีน หรือ อาหารเสริม
  2. เป็นข้อเสนอที่ขาดหลักฐานที่แสดงว่ามีประสิทธิผลและความแม่นยำ
  3. เคยมีการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มาแล้ว และยังไม่มีข้อมูลที่ควรพิจารณาใหม่

การค้นหา